Fixed-Asset Revaluation

Revalue : คือการปรับเปลี่ยนต้นทุน หรือการ Revise ต้นทุนของทรัพย์สิน เพื่อจะคิด ค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินต่อไป

โดยทั่วไปการ Revalue จะเกิดขึ้นใน 2 กรณีใหญ่ๆ ได้แก่

  1. ค่าซ่อมแซม และ
  2. Credit / Debit Note ( เพิ่มหนี้ , ลดหนี้ )

ซึ่งทั้ง 2 กรณีนี้ ในทางระบบบัญชีจะต้องทำการ Revalue เป็น 2 แบบ คือ

  • 1. เปลี่ยนเฉพาะต้นทุน แต่วันหมดค่าเสื่อมราคายังเหมือนเดิม เช่น ค่าซ่อมแซม ทรัพย์สิน กรณีซ่อม เล็กๆน้อยๆ หรือ Credit Note , Debit Note ตัวอย่างเช่น ซื้อทรัพย์สินมา 100,000 บาท คิด DP. 5 ปี .สมมุติว่า คิด DP ไปแล้ว 3 เดือน แสดงว่าเหลือ DP อยู่ 4 ปี กับอีก 9 เดือน พอจะคิด DP เดือนที่ 4 มีเอกสาร ลดหนี้มา ลดหนี้ 20,000 บาท ก็แสดงว่าทรัพย์สินตัวนี้ จะคิด DP ด้วยยอด 80,000 บาทไปอีก 4 ปี กับอีก 9 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนที่มีการ Revalue เป็นต้นไป คือ เดือนที่ 4 นั่นเอง นี่คือ การ Revalue เฉพาะต้นทุน แต่อายุ DP หมดเหมือนเดิม

  • 2. เปลี่ยนทั้งต้นทุน และขยายอายุค่าเสื่อมราคาออกไปด้วย เช่น ค่าซ่อมแซมทรัพย์แบบครั้งใหญ่ หรือOVERHUAL ทรัพย์สิน จากตัวอย่าง ทรัพย์สินในข้อ.1 ทรัพย์สิน มูลค่า 100,000 บาท คิด DP 5 ปี. สมมุติว่า คิด DP ไป แล้ว 4 ปี เหลืออีก1 ปี ก็จะหมดค่าเสื่อมราคา. แต่ในปีที่ 5 มีการ OVERHUAL มีค่าซ่อมเข้ามาอีก 50,000 บาท แสดงทรัพย์สินตัวนี้สามารถทำงานต่อได้อีก สมมุติว่า Auditor ให้คิดค่าเสื่อมราคาเพิ่มอีก 3 ปี แสดงว่าทรัพย์สินตัวนี้จะต้องเปลี่ยนทั้งต้นทุน และ ขยายอายุการใช้งานออกไปด้วย.. ซึ่งการคิดค่าเสื่อมราคาในกรณีนี้ จะคิดโดยใช้ Net Value ที่เหลืออยู่ ณ.ตอนที่ Revalue เสร็จแล้ว หารด้วยจำนวนวันที่เหลือ DP. อยู่ แล้วคูณ กับจำนวนวันที่คิด DP นั่นเอง