การควบคุมภายในองค์กร  สินทรัพย์ถาวร

การควบคุมภายในเกี่ยวกับ สินทรัพย์ถาวร

  • 1.มีการทำงบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายลงทุนซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการหรือเจ้าของกิจการ งบประมาณที่อนุมัติแล้วแจ้งให้แผนกต่อไปนี้ทราบ

    1.1 แผนกจัดซื้อหรือเจ้าหน้าที่จัดซื้อ

    1.2 แผนกวิศวกรรม

    1.3 แผนกบัญชี

  • 2. การซื้อสินทรัพย์ถาวรแต่ละครั้งจะต้องดูว่า

    2.1 เป็นการจ่ายที่จำเป็น

    2.2 ราคาที่ขออนุมัติไม่มากหรือต่ำไป

    2.3 สินทรัพย์ที่จะซื้อมาแทนที่มีประโยชน์คุ้มกับเงินลงทุน

    2.4 ทางแผนกบัญชีได้มีการตั้งเจ้าหนี้ไว้ถูกต้อง

    2.5 มีการประมาณอายุการใช้งานอย่างเหมาะสม

  • 3. ทะเบียนทรัพย์สินหรือบัญชีย่อย จะต้องแสดงสิ่งต่อไปนี้

    3.1 หมายเลขและสถานที่เก็บของแต่ละชิ้น

    3.2 อายุการใช้งาน และอัตราค่าเสื่อมราคา

    3.3 ราคาต้นทุน ค่าเสื่อมราคาสะสม ค่าเสื่อมราคาประจำปี และค่าเสื่อมราคาสะสมยกไป

    3.4 จำนวนรวมของแต่ละรายการ จะต้องเท่ากับบัญชีคุมยอด

  • 4. ในกรณีที่มีทะเบียนหรือบัญชีย่อย ได้มีการตรวจสอบดังต่อไปนี้หรือไม่

    4.1 สินทรัพย์ได้มีการติดหมายเลขทะเบียน

    4.2 มีการตรวจนับว่าสินทรัพย์มีอยู่ตามทะเบียน

    4.3 ถ้าตรวจนับได้ไม่ครบให้ตรวจสอบทันที

  • 5. นโยบายในการคำนวณค่าเสื่อมราคาได้กำหนดไว้อย่างแน่นอน

  • 6. มีการแบ่งค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายของแผนกที่ใช้สินทรัพย์อย่างถูกต้อง

  • 7. เมื่อคิดค่าเสื่อมราคาหมดแล้ว เพื่อให้เกิดการควบคุมภายในที่ดีให้เหลือราคาไว้ 1 บาท ไว้ในบัญชี

  • 8. เครื่องมือเบ็ดเตล็ดจะต้องมีการควบคุมการจัดซื้อและการเบิกใช้

  • 9.มีการประกันสำหรับสินทรัพย์ที่มีราคาสูงและจำนวนที่เอาประกันคุ้มกับราคาที่จะซื้อมาทดแทนเมื่อเกิดความเสียหายขึ้น

  • 10. การจำหน่ายจากบัญชีหรือการเคลื่อนย้ายสถานที่ต้องมีการอนุมัติ

  • 11. การจำหน่ายจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับสินค้า

  • 12.มีการกำหนดนโยบายให้แน่ชัดเกี่ยวกับรายจ่ายเพื่อสินทรัพย์ถาวรและรายจ่ายในการซ่อมแซมและบำรุงรักษา