การบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์

การบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ หมายถึง

• ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ

• ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต

• กิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

หมายถึง เงินสดในมือ , เงินสดย่อย , เงินสำรองทอน , เงินฝากธนาคาร – กระแสรายวัน , เงินฝากธนาคาร – ออมทรัพย์ และ
เงินฝากธนาคาร – ประจำ แต่ไม่รวมถึง เงินฝากประจำที่เกินกว่า 3 เดือน และบัญชีเงินฝากที่นำไปค้ำประกันกับสถาบันการเงิน

เงินลงทุน

• เงินลงทุนเพื้อค้า เงินลงทุนในตราสารหนี้ทุกชนิดหรือตราสารทุนในความต้องการของตลาดที่กิจการถือไว้โดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะขายในอนาคตอันใกล้

• เงินลงทุนเผื่อขาย เงินลงทุนในตราสารหนี้ทุกชนิดหรือตราสารทุนในความต้องการตลาดซึ่งไม่ถือเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้า และในขณะเดียวกันไม่ถือเป็นตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกําหนดหรือเงินลงทุนในบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วม สามารถแยกได้เป็นเงินลงทุนชั่วคราวและเงินลงทุนระยะยาว

• เงินลงทุนทั่วไป เงินลงทุนในตราสารทุนที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาด ทําให้กิจการไม่สามารถจัดประเภทเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้าหรือหลักทรัพย์เผื่อขาย เงินลงทุนทั่วไปสามารถแยกประเภทเป็นเงินลงทุนชั่วคราวหรือเงินลงทุนระยะยาว

• ตราสารหนี้ หมายถึง สัญญาที่แสดงว่าผู้ออกตราสารมีภาระผูกพันทั้งทางตรงและทางอ้อมที่จะต้องจ่ายเงินสดหรือสินทรัพย์อื่นให้แก่ผู้ถือตราสารตามจํานวนและเงื่อนไขที่ได้กําหนดไว้โดยชัดเจนหรือโดยปริยาย

• ตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกําหนด หมายถึง เงินลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ที่กิจการมีความตั้งใจแน่วแน่ละมีความสามารถที่จะถือไว้จนครบกําหนดไถ่ถอน

ลูกหนี้การค้า

หมายถึง เงินที่ลูกค้าค้างชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการที่บริษัทฯได้ขายไปตามปกติ รวมถึงตั๋วเงินรับที่ลูกหนี้ออกให้อันเกิดจากการขายสินค้าหรือให้บริการ แต่ไม่รวมถึงลูกหนี้และตั๋วเงินรับการค้าที่เป็นกรรมการ พนักงาน ลูกจ้างและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หมายถึง จำนวนที่กันไว้สำหรับลูกหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้ และถือเป็นบัญชีปรับมูลค่าที่ตั้งขึ้นเพื่อแสดงเป็นรายการหักจากบัญชีลูกหนี้ในงบการเงินเพื่อแสดงยอดลูกหนี้สุทธิของลูกหนี้ที่คาดว่าจะเก็บได้

หมายเหตุ : ในอนาคตมาตรฐานบัญชีไทยฉบับที่ 11 ส่วนที่เกี่ยวกับค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญกำลังจะถูกยกเลิกและไปใช้แนวคิดตาม IAS 39 แทน